Amazon Deals

Monday, July 27, 2009

ทำโยเกิร์ต (Making Yoghurt)


(ยืมรูปจากพี่กูเกิ้ล เหมือนเดิมนะ)

ก่อนอื่นเลย โยเกิร์ตไม่ใช่นมบูด การที่่จะให้นิยามของคำว่า อาหารที่บูดคือ อาหารเสียที่เราไม่ต้องการ อย่างงี้จะหมายความว่าอย่างไร

เราเอานมมาทำโยเกิร์ตแล้วได้โยเกิร์ตตามที่เราอยากจะได้ คือบรรลุวัตถุประสงค์การทำโยเกิร์ต

ทำโยเกิร์ต ได้โยเกิร์ต = ไม่ใช่นมบูด

ทำโยเกิร์ต ได้นมอะไรก็ไม่รู้ = นมบูด

ประวัติโยเกิร์ต

จากวิกิพีเดีย นักประวัติศาสตร์มีความเห็นว่า โยเกิร์ตเป็นอาหารที่รวมอยู่ในโภชนาการของชนเผ่าทราเซียน อันเป็นบรรพบุรุษเก่าแก่ที่สุดของชาวบัลแกเรีย ชาวทราเซียนเก่งในการเลี้ยงแกะ คำว่า yog ในภาษาทราเซียน แปลว่า หนาหรือข้น ส่วน urt แปลว่า น้ำนม คำ yoghurt น่าจะได้มาจากการสมาสของคำทั้งสองข้างต้น ในยุคโบราณราวศตวรรษที่ 4 ถึง 6 ก่อนคริสตกาล ชาวทราเซียนมีวิธีการเก็บรักษาน้ำนมไว้ในถุง ที่ทำจากหนังแกะ เวลาไปไหนต่อไหนก็เอาถุงนี้คาดเอวไว้ ความอบอุ่นจากร่างกายร่วมกับจุลชีพที่มีอยู่ในหนังแกะ ช่วยให้เกิดปฏิกิริยาการหมักขึ้น น้ำนมในถุงก็กลายสภาพเป็นโยเกิร์ตไป

นักวิทยาศาสตร์บางคนสันนิษฐานว่า สิ่งที่มีมาก่อนโยเกิร์ตน่าจะเป็นน้ำนมหมักที่ใช้ดื่ม เรียกว่า คูมิส (Kumis) น้ำนมชนิดนี้ทำมาจากน้ำนมม้า โดยชนเผ่าที่มาอยู่ก่อนหน้าชาวบัลแกเรีย เช่น ชนเผ่าที่เร่ร่อนที่อพยพย้ายถิ่นฐานจากทวีปเอเชียมายังคาบสมุทรมัลข่าน ในปี ค.ศ.681

ในยุโรปตะวันตก โยเกิร์ตปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในศตวรรษที่ 16 ในราชสำนักของกษัตริย์ฟรานซิสที่ 1 แห่งฝรั่งเศส ครั้งนั้นกษัตริย์พระองค์นี้ประชวร มีพระอาการปั่นป่วนในท้อง แพทย์ชาวตุรกีผู้หนึ่งจึงทำการรักษาโดยให้เสวยโยเกิร์ตที่นำมาจากบัลแกเรีย เรื่องนี้ศาสตราจารย์คริสโต โชมาคอฟ รายงานไว้ในหนังสือ Bulgarian Yoghurt-Health and Longerity

ส่วนผสม

1. น้ำนม อะไรก็ได้ ยกเว้นนมเม็ด นมผง นมข้นหวาน

2. เชื้อจุลินทรีย์ Lactobacillus bulgaricus , Streptococcus themophilus โอ้ว ยุ่งยาก ไปซื้อโยเกิร์ตมาดีกว่า เอายี่ห้อไหนก็ได้ เอามาเลย เพราะว่าในโยเกิร์ตก็ยังมีจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ให้เราใช้ได้ 55

3. น้ำตาล(อันนี้แล้วแต่ชอบจะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ ถ้าไม่อยากเติมน้ำตาลก็ซื้อนมหวานมาเลยดีกว่า)

4. ผลไม้หรือแยมต่าง ๆ หรือน้ำผึ้ง อะไรก็ได้ที่คุณจะสรรหามากินกับโยเกิร์ตอะนะ แนะนำ Bestfood รุ่น Squeezy เวิร์คมั่ก

วิธีทำแบบยากและดูดีมีหลักการ

1. อุ่นนมให้ร้อนประมาณ 60-70 องศาเซลเซียส เคยอ่านมามันจะช่วยฆ่าเชื้อได้บางส่วนและช่วยให้โปรตีนในน้ำนมเข้ากับน้ำได้ ดี จะช่วยให้โยเกิร์ตที่เราทำไม่แยกตัวเป็นชั้นเวลาทำ ใช้เวลาประมาณแป๊บเดียว สองสามนาที

2. ใส่เชื้อจุลินทรีย์ลงไป ใส่มากได้โยเกิร์ตเร็วกว่า ใส่น้อยได้โยเกิร์ตช้ากว่า อ่อ ใส่ตอนที่อุณหภูมินมประมาณ 40 องศาเซลเซียส กะเอาก็ได้ เอาว่าเราจับนมแล้วมันไม่ร้อนเกินไป จุลินทรีย์มันก็น่าจะอยู่ได้ ที่อ่าน ๆ มาเค้าบอกว่า ให้ใส่โยเกิร์ต 1 ช้อนโต๊ะพูน ๆ ต่อนม 500 ml ส่วนเราก็ใส่มันทั้งถ้วยที่ซื้อมานะแหละ ไม่ต้องคิดมาก 555 แล้วก็คน ๆ ให้นมกับโยเกิร์ตมันเข้ากัน

3. บ่มให้เชื้อจุลินทร์เจริญ ถ้าใครมีตู้ควบคุมอุณหภูมิ แบบว่าทำงานในห้องแลบไรงี้ก็ใส่ไปเลย 37 องศาเซลเซียส ซัก 4 ชั่วโมงก็ได้ละ เอาไปใส่ตู้เย็นโลด กินแบบเย็น ๆ แต่คาดว่าชาวบ้านทั่วไปคงไม่มีตู้(incubator) ก็ให้เอานมที่ได้จากข้อ 2 เมื่อกี๊ใส่ภาชนะ ปิดฝา ตั้งทิ้งไว้ที่ที่คิดว่าอุ่นที่สุดของบ้าน หรือถ้าไม่มีก็ตั้งทิ้งไว้ที่โต๊ะซักโต๊ะ ใช้เวลาประมาณคืนนึง 8-12 ชั่วโมง ก็กะ ๆ เอา ทิ้งไว้นานก็เปรี๊ยวมาก ถ้าเช็คดูแล้วโอเค ก็เอาโยเกิร์ตใส่ตู้เย็นเลย เก็บไว้ได้อีกหลายวัน เวลาจะกินก็เอามากินกับผลไม้ เช่น มะม่วงนี่สุดยอดไปเลยยยยย

วิธีทำแบบง่ายและได้ผล

1. ซื้อนมรสหวานมา 1 ขวด จะเอาขนาด 500 ml หรือ 1000 ml ก็ได้

2. ซื้อโยเกิร์ตรสธรรมชาติมา 1 ถ้วย

3. ดูดนมจากข้อ 1 ไปซักหน่อย แล้วเอาโยเกิร์ตจากข้อ 2 ใส่ไปซักนิด ใส่หมดก็ได้ มันก็จะกลายเป็นโยเกิร์ตเร็วขึ้นกว่าเดิม เพราะว่ามีปริมาณเชื้อตั้งต้นมาก

4. ปิดฝาขวดนมแล้วเขย่า

5. เอาไปวางไว้หลังพัดลม CPU มันจะอุ่น ๆ ดี หรือเอาไว้ในกระติกน้ำแข็งแล้วเอาน้ำร้อนใส่ขวดไว้แล้วเอาขวดที่มีโยเกิร์ตใส้ไว้ด้วย เป้าหมายคือให้ภาชนะที่ใส่โยเกิร์ตอุ่น แบคทีเรียมันจะเจริญได้ ใช้เวลาซัก 6-8 ชั่วโมงก็จะได้ก็ลองเปิดขวดเช็คดูว่าข้นหรือยัง หรือจะเอาไปบ่มไว้ในรถที่จอดตากแดดไว้ก็ได้ เวิร์คมากเหมือนกัน 555 ระวังร้อนเกิน โยเกิร์ตจะเป็นแบบเหนียว ๆ ไม่น่ากิน มันจะยืด ๆ น่ะ

6. ได้ที่แล้ว พอใจแล้ว กล้าทำก็ต้องกล้ากิน อย่าลืมกินให้คนอื่นดูด้วยนะ 555

----------------------------------------------

สำหรับคนที่เครซี่และจริงจังกับการกินโยเกิร์ต วันนี้เรามีของมานำเสนอ(ข้อมูลและภาพจาก google เช่นเดิม) แถ่น แทน แท๊น...ช้อนโยเกิร์ต ออกแบบโดยคุณ Nojae Park



No comments:

Post a Comment